ICT มาจาก
-Information สารสนเทศ, สารนิเทศ, ในบางครั้งหมายถึงข้อมูล
-Communication การสื่อสาร
-Technology เทคโนโลยี
ICT หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ สรุป คำนวณ จัดเก็บ ค้นคืน จัดทำสำเนา และแพร่กระจาย หรือสื่อสาร ข้อมูล ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสารสนเทศที่ดี มีความถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) หมายถึง เทคโนโลยีทั้งหลาย (โดยมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นหลัก) ที่ทำหน้าที่ใน การจัดการข้อมูล ได้แก่ การนำข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล ให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ และเผยแพร่ต่อไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ ให้สามารถได้ใช้ผลผลิตนั้น อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ เราสามารถใช้ติดต่อสื่อสารหาข้อมูล ความรู้ในการศึกษา กับสถาบันทั้งในและต่างประเทศได้ เพื่อหาความรู้และโลกทัศน์ใหม่ๆได้
ICT in Organization
วันนี้เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางของโลกมากกว่าที่เคยเป็น การใช้งาน ICT ไม่ใช่เป็นเพียงนวัตกรรมหรือเครื่องมือของผู้นำที่ใช้ในการบริหารองค์กร แต่เป็นปัจจัยหรือจุดเปลี่ยนที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนต่อไปได้
เหตุผลหลักที่จำเป็นต้องใช้งาน ICT ก็คือความก้าวไปข้างหน้าของโลกเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การดึงดูดผู้บริโภคด้วยเส้นทางที่สะดวกสบายมากกว่า และความอิสระในการบริหารงานภายในองค์กรที่ไม่มีข้อจำกัดเหมือนแต่ก่อน
เป็นผลให้ เกิดช่องว่างของความต้องการในโลกโลกาภิวัตน์และสิ่งที่องค์กรสามารถมอบให้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารในยุคปัจจุบันต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ เพื่อปรับใช้ให้เข้ากับแผนการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้ได้ เพราะตอนนี้ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและตลาดในยุคดิจิตอลคือกุญแจสำคัญที่จะพาองค์กรประสบความสำเร็จในภายภาคหน้า
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเทคโนโลยี
แน่นอนว่าสิ่งที่อยู่ในใจของผู้บริหารก็คือ แรงขับเคลื่อนการเจริญเติบโตและผลผลิตขององค์กร นั่นเป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังมาแต่ไหนแต่ไร แต่ปัจจุบันสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือการนำเอาเทคโนโลยี ICT มาผนวกเพื่อนำพาเป้าเหมายดังกล่าวให้พัฒนาไปได้ดียิ่งขึ้น โดยมีประเด็นเกี่ยวกับมุมมองมากกมาย เช่น แพลตฟอร์มที่มีมากขึ้น (mobility, cloud, social) การติดต่อสื่อสารและความร่วมมือทำได้ง่ายมากขึ้น (Web, mobile, social) ลูกค้าในโลกใหม่นี้ชอบนวัตกรรม หรือจะเป็นข้อมูลถูกเปิดกว้าง อีกทั้งยังมาพร้อมกับกองทับแอปพลิเคชันและอุปกรณ์ต่างๆ นาๆ ซึ่งหากผู้บริหารมองเห็นถึงปัจจัยเหล่านี้ก็จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือนำพาความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เหล่าแรงงานก็มีความคาดหวังกับการที่จะได้ใช้เทคโนโนยีอันทันสมัย เพื่อประโยชน์ในการทำงานจากองค์กรของตนด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่ที่ได้รับก็จะเป็นอุปกรณ์สุดไฮเทคอย่าง iPad การใช้งาน ICTหรือการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ง่ายกว่าเดิม ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วทำให้เกิดประสิทธิผลของการทำงานและการใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างคุ้มค่าที่สุด
"Easy, highly mobile, และ social คือเจเนอเรชั่นใหม่ของ ITC"
แต่น่าเสียดาย ที่ต่างๆ ไม่ยอมรับ ICT มักถูกขัดขวางโดยแนวความคิดแบบดั้งเดิม ความกลัวที่จะก้าวล้ำออกไป จึงทำให้ ICT ในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับการพัฒนาขององค์กรได้อย่างลงตัว
แต่หากต้องการจะพัฒนาต่อไป แนวโน้มของ ICT ในอนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญ และสิ่งที่ต้องทำก็คือค่อยๆ ปรับองค์กรให้เข้ากับเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ได้ โดย Maryfran Johnson ประธานบริษัทแห่ง CIO Magazine ได้ให้แนวโน้ม ICT ในปัจจุบันและในอนาคตกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กร ไวดังนี้
1) Next-Gen Mobile - Smart Devices and Tablets
รูปภาพจาก - http://www.saudigazette.com.sa/index.cfm?method=home.regcon&contentid=20121121143597
เห็นได้ชัดว่าสมาร์ทโฟนในปัจจุบันก็คือ iOS และ Android และในปัจจุบันก็ยังมี Windows 8 ระบบปฏิบัติการข้ามแพลตฟอร์มที่พร้อมจะขึ้นเป็นที่หนึ่งอยู่เสมอ และตามสถิติจากที่ต่างๆ แล้วจะเห็นว่าการเจริญเติบโตของ Smart Devices นั้นมีการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดอยู่ตลอดเวลา ต่างกับคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรือ PC ที่ค่อยๆ ลดการเจริญเติบโตลง โดยสรุปแล้วคาดว่าภายในอีกไม่เกิน 2 ปีข้างหน้า เหล่า Smart Devices ทั้งหลายจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า PC และสามารถทดแทนการใช้งานกันได้อย่างลงตัว
ความท้าทายที่เกิดขึ้น
- Smart devices มีการปรับตัวที่ช้าในระดับองค์กร : ผู้จำหน่ายซอฟแวร์หรือผู้ดูแล ICT ขององค์กรนั้นยังคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มเก่าๆ อย่าง Windows หรือ LAMP เพราะฉะนั้นระบบจัดการใหม่ๆ หรือระบบปฏิบัติการใหม่จึงถูกคัดออกตั้งแต่เริ่ม การแก้ไขก็คือการวางวิสัยทัศน์และการวางกลยุทธ์ขององค์กรใหม่ ให้ทันสมัยและยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน
- ประโยชน์ส่วนใหญ่ยังถูกมองในแง่ลบ : Smart devices ย่อมมาพร้อมแอปพลิเคชั่นมากมายซึ่งคนส่วนมากยังมองดูว่าส่วนใหญ่นั้นไร้สาระ ไม่เหมาะสมกับการทำงานจริง ซึ่งตรงนี้เป็นมุมมองที่ผิดและสามารถทำความเข้าใจใหม่กันได้ โดยการกำหนด policy-based screening of apps ซึ่งเป็นการคัดกรองแอปพลิเคชั่นให้เหลือเพียงส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเท่านั้น
2) Social Media - Social Business and Enterprise 2.0
รูปภาพจาก - http://www.conv.co.nz/blog/kiwis-use-of-facebook-and-other-social-media-sites/attachment/social-media/
ขณะที่มือถือมีความสามารถในการเข้าถึงสังคมได้ดีกว่าอุปกรณ์สื่อสารทั่วไป โซเชียลมีเดียจึงมีบทบาทมากขึ้นในองค์กร โลกในปัจจุบันนั้นใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในการติดตามกระแสโลกาภิวัตน์อย่างใกล้ชิด สำหรับองค์กรก็เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ CMR (Customer relationship management) ซึ่งจะทำให้มีความใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่ากลยุทธ์เดิมๆ
ความท้าทายที่เกิดขึ้น
- การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่มากเกินไป : การที่เห็นการประชาสัมพันธ์ทางโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นหนทางที่ง่ายและสะดวก อาจทำให้ละเลยกระบวนหรือปัจจัยอื่นๆ ไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นสื่อที่ง่ายเกินไปและขาดน้ำหนักอย่างมาก องค์กรควรดำเนินกระบวนการอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์, ดูแลลูกค้า, หรือ การวิเคราะห์ตลาด
3) Cloud computing
รูปภาพจาก - http://earthnet.net/cloud.html
วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร
เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และกำลังได้รับความสนใจ อีกทั้งยังมีข้อพิพาทที่น้อย โดยระบบ Cloud computing นั้นจะมาช่วยให้การทำงานขององค์กรสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น ลดต้นทุน ลดการสร้างฐานข้อมูลที่ไม่จำเป็น เพิ่มความคล่องตัวของธุรกิจ เชื่อมต่อฐานข้อมูลไปยังสถาปัตยกรรมอื่นหรือแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น
ความท้าทายที่เกิดขึ้น
- ความกล้าที่จะปรับตัว : หากองค์กรต้องการที่จะปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นระบบ Cloud computing สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกก็คือ การย้ายข้อมูลเดิมให้เข้ามาอยู่ในระบบใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เสี่ยงและอาจไม่คุ้ม จึงทำให้มีหลายองค์กรที่ยังไม่เลือกใช้ Cloud computing เพราะกลัวปัญหาตรงจุดนี้ อีกทั้งด้านความปลอดภัยและความลับ ที่ต้องการการดูแลมากกว่าระบบอื่นๆ ก็ดูเหมือนจะเป็นงานยากที่องค์กรจะปรับตัวให้ทัน
4) Consumerization of ICT
รูปภาพจาก - http://kafaak.wordpress.com/2011/10/13/consumerization-trend/
Consumerization คือการที่เหล่าพนักงานในองค์กร เริ่มนำอุปกรณ์ IT ของตนเข้ามาใช้ในการทำงานประจำวันของพวกเขามากขึ้น
โมเดลนี้เป็นระบบที่ช่วยให้การจัดสรรงานผ่านระบบ ICT มีประสิทธิภาพมากขึ้น พนักงานมีความถนัดหรือความชอบที่จะกำหนดแนวทางกระบวนการทำงานของตนเองได้อย่างอิสระ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ความสะดวกรวดเร็ว และความสุขในการทำงานของพนักงานในองค์กร
ความท้าทายที่เกิดขึ้น
- อิสระจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ซ่อนอยู่ : Consumerization ควรมาพร้อมการบริหารและการดูแลระบบทีดีพอ ไม่เช่นนั้นระบบการทำงานจะซับซ้อนและยุ่งยากกว่าเดิมเสียอีก
5) Strategic Big Data
รูปภาพจาก - http://www.taskus.com/people-and-big-data/
Big Data จะเปลี่ยนแนวการพุ่งเป้าจากแต่ละโครงการ ไปสู่องค์กรในภาพรวมที่เป็น สถาปัตยกรรมกลยุทธ์สารสนเทศ
สารพัดปัญหาที่องค์กรต้องพบในการจัดการกับข้อมูลในแบบเดิมๆ ทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนแนวคิดจากการที่มีคลังข้อมูลขนาดใหญ่ไว้จุดเดียว ไปสู่การมีระบบการจัดการที่หลากหลาย เช่น content management, data warehouses, data marts, specialized file systems และอื่นๆ อีกมากมาย ที่จะมีกระบวนการบริหารจัดการเฉพาะอย่างไป เป็นผลให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรข้อมูลในองค์กร
ความท้าทายที่เกิดขึ้น
- ข้อมูลที่มากมาพร้อมเทคโนโลยีที่ใหม่ : หากต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ จำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพพอที่จะดูแลการจัดการกับข้อมูลที่หลากหลาย ต้องมีการอบรมและเพิ่มทักษะปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ในองค์กรนั้นๆ
6) In Memory Computing
รูปภาพจาก - http://www.tele-task.de/archive/podcast/9723/
การประมวลผลในหน่วยความจำ หรือ In memory computing (IMC) จะช่วยเปิดโอกาสให้งานอีกหลายอย่างเกิดขึ้นได้ เพราะการประมวลผลระบบเดิมๆที่อาจต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่สำหรับระบบใหม่นี้จะกลายเป็นการใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที ทำให้งานหลายๆอย่างเป็นไปได้ สำหรับผู้ใช้บริการทั้งภายในและภานอกผ่าน Cloud Service
ความท้าทายที่เกิดขึ้น
- ตัวช่วยการประมวลผล : อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการช่วยประมวลแบบ Real times นั้นมีต้นทุนที่สูง ต้องมีการประเมินดูถึงความคุ้มค่าว่าสามารถนำมาใช้หรือเข้ากับองค์กรได้หรือไม่
การประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ
1) ด้านการศึกษา
รูปภาพจาก - http://www.computrontechnologies.com/Pages/TechnologyandEducation.aspx
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา
- การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง
- บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาต่างประเทศ ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสีและเสียงประกอบ นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง
- บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในและนอกสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ใช้บทเรียนออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ในการทำรายงาน หรือเพื่อศึกษาหาความรู้ เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น google.com, ask.com, dogpile.com และ wikipedia.org ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลจากหลักฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
2) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
รูปภาพจาก - http://www.soumu.go.jp/menu_seisaku/ict/u-japan_en/new_r_i04m.html
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์
3) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
รูปภาพจาก - http://www.ictinagriculture.org/content/research-impact-0
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงาน สารเคมี โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า การส่งสินค้าตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า
4) ด้านการเงินการธนาคาร
รูปภาพจาก - http://www.mybanktracker.com/news/2010/05/27/online-banking-online-bill-pay-growing-in-popularity/
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้านบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
5) ด้านความมั่นคง
รูปภาพจาก - http://bo.lt/7x65m
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ
6) ด้านการคมนาคม
รูปภาพจาก - http://www.ihub.co.ke/blog/2011/10/ict-hubs-what-makes-them-work-and-not-work/
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวสังคม เช่น การประชุมผ่าน Video Conferenc และการติดต่อสื่อสารพบปะพูดคุยผ่านทาง Social Networks
องค์กรที่นำระบบ ICT มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
ได้นำเทคโนโลยี ICT ในระบบ Business to Business ของ บริษัท พันธวณิช เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร
พันธวณิช คือ ผู้นำด้านการให้บริการทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง การแก้ไขปัญหาในส่วนของประเทศไทย ด้วยการเสนอบริการแบบ Business to Business ได้แก่ระบบ e-marketplace, e-government และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ พัทธวณิชได้มอบประโยชน์สำคัญในการจัดซื้อจัดจ้างแก่บริษัท Charoen Pokphand Group อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
ข้อดี : เกิดการ Out sourcing โดยมอบหมายงานแก่ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมืออาชีพ ในการบริหารงานแทนทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว การตัดสินใจมีความแม่นยำมากขึ้น
ข้อเสีย : ขาดความเป็นเป็นตัวเอง มีข้อผูกมัดที่เยอะ และอาจเบี่ยงเบนกระบวนการทำงานที่ไม่เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ก็เป็นได้
รูปภาพจาก - http://www.pantavanij.com/xcart/forum/showthread.php?p=140
บริการของบริษัทพันธวณิช
กรณีศึกษาการใช้ระบบ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
โดย http://thumbsup.in.th
บริษัท Molplex ได้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ลดเวลาและลดการคัดกรองกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวกับส่วนผสม ทางเคมีซึ่งเป็นส่วนในการผลิตยา ซึ่งก็แน่นอนว่ามันมีปริมาณข้อมูลที่มหาศาล โดยนักวิจัยนั้นจะใช้เครื่องมือที่อยู่ใน cloud เพื่อช่วยในการเพิ่มอัตราความสำเร็จในการหาตัวยาเพื่อรักษาโรคและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศแถบเขตร้อน (Tropical) อย่างเช่น มาลาเรีย, วัณโรค (tuberculosis) และ ไข้เลือดออก (dengue fever)
การค้นหายาในยุคใหม่ๆ นั้นเกี่ยวข้องกับการระบุถึงตัวเลือกของยาและการคัดกรอง โดยค้นหาตัวยาและสารประกอบที่มีประสิทธิภาพทางชีวภาพ เพื่อให้เจออย่างรวดเร็วจากจำนวนตัวเลือกที่มีอยู่เป็นล้านๆ ตัว ซึ่งเป็นตัวแทนที่ได้จากการค้นหาโดยนักวิจัย ซึ่งทาง หน่วยงานวิจัยของทางไมโครซอฟท์ (Microsoft Research) ได้มีการค้นคว้าเทคโนโลยีที่จะเข้ามาตอบโจทย์ของทาง Molplex เรียกวิธีนี้ว่า “Molplex Clouds Against Disease”
นักวิจัยจาก Molplex ซึ่งเป็นบริษัทคิดค้นยาบริษัทเล็กๆ, มหาวิทยาลัย Newcastle และทาง Microsoft Research Connections โดยจับมือกันเพื่อที่จะหาทางช่วยนักวิทยาศาสตร์รอบโลกในการที่จะนำตัวยา ใหม่ๆ ออกมาให้ใช้เพื่อรักษาโลกได้เร็วขึ้นและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ การร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ทาง Molplex พัฒนาระบบ Cloud ที่ชื่อว่า Clouds Against Disease ซึ่งสิ่งนี้เป็นบริการที่สามารถค้นหายาด้วยคุณภาพสูง ด้วยการใช้แพล็ตฟอร์มใหม่ในการค้นหาโมเลกุล ทั้งหมดใช้ Cloud Computing มาเป็นตัวช่วยค้นหา
Clouds Against Disease จะถูกนำมาใช้เป็นแพล็ตฟอร์มการคำนวนการค้นพบโมเลกุลโดยทำการตัดสินใจ อัตโนมัติ ซึ่งปกติแล้วเป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นคนดูข้อมูลทางเคมีทั้ง หมด แต่ด้วยซอฟท์แวร์นี้จะช่วยค้นหาสิ่งที่ตรงกับเงื่อนไขที่ต้องการเท่านั้น โดยเมื่อเอาระบบนี้มารวมกับระบบการสังเคราะห์สารเคมีและการคัดกรองแล้ว มันจะกลายเป็นขั้นตอนและกระบวนการที่ทำให้สามารถค้นหายามีประสิทธิภาพมาก ขึ้นกว่าเดิม
แต่ด้วยการคำนวนบน Windows Azure ทำให้การค้นหายาเพื่อรักษาโรคที่เกิดขึ้นในประเทศแถบเขตร้อนอย่างมาลาเรีย, วัณโรค(tuberculosis) และ ไข้เลือดออก (dengue fever) จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายปีด้วยนักวิทยาศาสตร์เป็นร้อยๆ คน สามารถทำได้ด้วยระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น
สำหรับ Windows Azure ที่เป็นแพล็ตฟอร์ม cloud-computing จากทาง Microsoft นั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของ Clouds Against Disease โดยทาง Molplex ได้ใช้ Windows Azure มากกว่า 100 nodes ในการทำเครื่องเซิฟเวอร์เสมือน (Virtual Servers) เพื่อที่จะทำให้มีการประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่ใช้ Windows Azure แล้วเราจะต้องลงทุนซื้อเครื่องเซิฟเวอร์มาตั้งจริงๆ ถึง 100 เครื่อง ซึ่งนั่นก็หมายถึงรายจ่ายมหาศาลและยังไม่รวมถึงค่าดูแลรักษาที่จะตามมาอีก ด้วย นี่ก็เป็นสิ่งที่ Windows Azure มาช่วยตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป โดยใช้เฉพาะสิ่งที่เราจะใช้เพียงเท่านั้น และทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยสามารถใช้เวลาในการศึกษาสิ่งใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
และนี่คืออีกหนึ่งกรณีศึกษาที่หยิบเอา Windows Azure มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อช่วยมนุษย์ ซึ่งสามารถลดได้ทั้งงาน, เวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่หายไปเหลือที่ต้องจ่ายเท่าที่จำเป็นเพียงเท่านั้น
ข้อดีและข้อเสียของระบบ ICT
รูปภาพจาก - http://www.policymic.com/articles/12542/the-power-of-information-and-the-impact-of-wikileaks-in-latin-america
1.ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)
2.เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)
3.เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)
4.ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)
5.สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)
6.สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
7.ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)
จาก เป้าหมายทั้ง7ประการของเทคโนโลยีสารสนเทศถ้าสามารถดำเนินการได้ตามเป้หมาย ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบนี้ได้ทั้งหมด
2.ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.วงจร ชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย
2.ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ
3.ก่อให้เกิดช่องว่าง (Gap) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย
3.ผลกระของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคมมนุษย์
1.การเปลี่ยนแปลงเรื่องความรู้สึกตลอดเวลา มีคนจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกว่าสรรพสิ่งเคลื่อนไหวเร็วขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้านโทรคมนาคม ทำให้ระบบเศรษฐกิจเป็นจริงขึ้นมา พรมแดนของประเทศกลายเป็นสิ่งไร้ความหมายการบริการด้านการเงินได้รับแรงเสริม ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะในสำนักงานทำให้วิธีคิด และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การทำงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงานตลอดเวลาอีกแล้ว
2.ผลกระทบด้านการ เมืองและการตัดสินใจ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ละเอียดและปราณีตมากขึ้น ทำให้การตัดสินใจไม่เป็นไปตามค่านิยมแต่จะเป็นการตัดสินใจบนข้อมูลและข้อ เท็จจริงพร้อมทั้งความคิดเห็นที่มีการเก็บรวบรวมและมีวิธีการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ส่วนรูปแบบการเมือง จะได้รับผลกระทบคือ ระบบเผด็จการจะลดน้อยลง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมข่าวสารได้ ระบบการสื่อสารที่กระจายอำนาจทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นสามารถติดตามการทำ งานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.การเกิดขึ้นของชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคตจะเกิดชุมชนใหม่ที่เรียกว่า “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์” ที่ปรากฏขึ้นเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่มีความสนใจเหมือนกันจะติดต่อโดยผ่านบริการของสหกรณ์โทร คอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถจัดการให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ และข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนกันนี้จะถูกบันทึกไว้และจะเรียกกลับมาใช้อีก เมื่อไหร่ก็ได้
4.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่ได้เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคโนโลยีต่างๆ และเทคโนโลยีเหล่านั้นเองที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณหรือจำลองแบบมวลอากาศเพื่อพยากรณ์ทางด้าน อุตุนิยมวิทยา การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อตรวจสอบการบุกรุกทำลายป่า หรือการใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบการแพร่มลพิษในน้ำหรือในอากาศ
5.ผลกระทบด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบในด้านการศึกษามาก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI) หรือ เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียน (Computer Assisted Learning-CAL) ซึ่งหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและการเรียนรู้ โดยมีผลทำให้นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนที่อยู่ในที่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับคนเมือง นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้อาจารย์มีเวลามากขึ้นที่จะทำการศึกษาวิจัย นำเสนอผลงานใหม่อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
6.ผลกระทบที่ เกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเลือกซื้อของ การพักผ่อน การฝาก-ถอนเงิน การรักษาพยาบาล เป็นต้น ซึ่งผลกระทบต่อบุคคลที่สำคัญดังนี้
ผลกระทบที่มี ผลต่อสภาวะจิตใจ การที่สภาพแวดล้อมทีการกระตุ้นมากเกินไป ข่าวสารข้อมูลมีมากเกินไป ทางเลือกต่างๆ มีมาก ทำให้เกิดการตัดสินใจของมนุษย์ด้อยประสิทธิภาพลงเมื่ออยู่ในภาวะที่ ถูกกระตุ้นมากไป
การย้อนกลับไปสู่ศาสตร์ลี้ลับ เนื่องมาจากการสูญเสียอำนาจควบคุมพลังและศาสตร์ต่างๆ ก้าวไปไกลเกินกว่าที่มนุษย์จะควบคุม มนุษย์จึงเลิกสนใจวิทยาศาสตร์แต่หันมาสนใจศาสตร์ลี้ลับต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
7.ความเป็นส่วนตัวลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวทุกอย่างของมนุษย์ได้
ผล กระทบต่อวิธีคิดมนุษย์ มนุษย์จะสามารถเก็บข้อมูลมากที่สุดในเวลาอันสั้นแล้วทิ้งไป แต่จะนำเอาข้อมูลเพียงเล็กน้อยมาสรุปรวมกันเป็นทัศนะใหม่ จะไม่รับแนวคิดที่ส่งผ่านมาทั้งกระบวนอีกต่อไป
Reference
ข้อมูลเกี่ยวกับ ICT ในองค์กร
- http://www.zdnet.com/blog/hinchcliffe/the-big-five-it-trends-of-the-next-half-decade-mobile-social-cloud-consumerization-and-big-data/1811
ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของ ICT
- http://www.gotoknow.org/posts/151513
ข้อมูลเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ
- https://sites.google.com/site/kruyutsbw/prayochn-laea-tawxyang
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรที่ยกตัวอย่าง
- http://www.cpthailand.com/en/our_business/information_technology.aspx
- http://thumbsup.in.th/2013/02/molplex-discover-new-drugs-faster-from-windows-azure/
Picture Reference
http://www.saudigazette.com.sa/index.cfm?method=home.regcon&contentid=20121121143597
http://www.conv.co.nz/blog/kiwis-use-of-facebook-and-other-social-media-sites/attachment/social-media/
http://earthnet.net/cloud.html
http://kafaak.wordpress.com/2011/10/13/consumerization-trend/
http://www.taskus.com/people-and-big-data/
http://www.tele-task.de/archive/podcast/9723/
http://www.computrontechnologies.com/Pages/TechnologyandEducation.aspx
http://www.soumu.go.jp/menu_seisaku/ict/u-japan_en/new_r_i04m.html
http://www.ictinagriculture.org/content/research-impact-0
http://www.mybanktracker.com/news/2010/05/27/online-banking-online-bill-pay-growing-in-popularity/
http://bo.lt/7x65m
http://www.ihub.co.ke/blog/2011/10/ict-hubs-what-makes-them-work-and-not-work/
http://www.policymic.com/articles/12542/the-power-of-information-and-the-impact-of-wikileaks-in-latin-america
จัดทำโดย นาย โยธิน เจติยานนท์ 552110225 รายวิชา 954141 section 002